เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเข้าใจการดูแลรักษาตนเอง การเจริญเติบโต แข็งแรงสมวัย ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจการเกิด การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ตลอดจนเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตอื่น (วงจรชีวิต / การเจริญเติบโต)
Week
lnput
Process
Output
Outcome
4
โจทย์ :
วงจรชีวิต  การเจริญเติบโตของ
พืช และ สัตว์
Key  Questions
พืช และสัตว์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
Wall  Thinking :
ใบงานโยงเส้นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
Show and Share : การเพาะถั่วเขียว
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - นิทานเรื่อง  “การเติบโต”
  - เพลง ไก่ กุ๊ก กุ๊ก ไก่
  - สื่อจริงต้นถั่วเขียว
  - บริเวณรอบๆ โรงเรียน














วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “การเติบโต”เพื่อให้นักเรียนรู้การเกิดของพืชมากขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร?
 “รู้สึกอย่างไร?” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
 ใช้ :
นักเรียนปะติดรูปสัตว์

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร้องเพลง“ ไก่ กุ๊ก กุ๊ก ไก่
- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อ
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ร้อง
ใช้ :
นักเรียนปั่นดินน้ำมันรูปสัตว์

วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจพืชและสัตว์  บริเวณรอบๆ  โรงเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร  เหมือนหรือคล้ายกับอะไรบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการเดินสำรวจ
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานโยงเส้นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต 
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจอง ต้นไม้มีชีวิต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการท่องคำคล้องจอง
- ครูนำเมล็ดถั่วเขียวมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนเห็นอะไร   สามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง เคยเห็นที่ไหนบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ใช้ :
นักเรียนเพาะถั่วเขียว

วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนสังเกตการเจริญเติบโตของถั่วเขียว
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
  ต้นถั่วเหมือนหรือต่างจากเดิมอย่างไร
พืชเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
- พืชชนิดใดบ้างที่เกิดจากเมล็ด กิ่ง ใบ?
-  สัตว์เกิดมาได้อย่างไร?
-  นักเรียนคิดว่า (ช้าง แมว สุนัข กระต่าย) มีแม่กับพ่อหรือไม่  แล้วพ่อกับแม่เขาไปไหน?
 - สัตว์ตัวผู้กับตัวเมียเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
 - สัตว์ตัวผู้กับผู้ชายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
 - สัตว์ตัวเมียกับผู้หญิงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
 - ถ้าบนโลกนี้ไม่มีพืชหรือสัตว์อยู่เลยจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิด การเจริญเติบโต วงจรชีวิตของพืชและสัตว์
ใช้ :
Show and Share การเพาะถั่วเขียว



ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจพืชและสัตว์บริเวณรอบๆ โรงเรียน 
- แสดงความคิดเห็นการเพาะปลูกถั่วเขียว


ชิ้นงาน
- ใบงานโยงเส้นการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
 - นักเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตารูปสัตว์
- ปั่นดินน้ำมันรูปสัตว์
- ปะติดรูปสัตว์

ความรู้
นักเรียนเข้าใจการเกิด การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ตลอดจนเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตอื่น (วงจรชีวิต / การเจริญเติบโต)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถใช้อุปกรณ์การทดลองอย่างง่าย เช่น แว่นขยาย ได้อย่างเหมาะสม
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอและฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
ทักษะการสังเกต
สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ การเกิดฝน รุ่งกินน้ำ
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถตั้งคำถามจากการทดลองรุ้งกินน้ำที่ตนเองสนใจ
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

คัวอย่างกิจกรรม












ตัวอย่างชิ้นงาน


























1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ 4 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนเกี่ยวกับ วงจรชีวิตการเจริญเติบโตพืชและสัตว์ ครูเล่านิทานเรื่อง การเติบโต เพื่อให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดของพืชและสัตวืมากขึ้น ครูพาเดินสำรวจพืชและสัตว์บริเวณรอบๆ โรงเรียน พี่อนุบาล 2 ปะติดรูปสัตว์ วาดภาพระบายสีเกี่ยวกัสัตว์และพืช ครูนำเม็ลดถั่วเขียวมาให้สังเรียนสังเกต ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนเห้นอะไร สามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง พี่กาแฟ: พี่ถั่วเขียวเอาไปปลูกได้ครับ พี่สายไหม: เอาพี่ถั่วเขียวไปทำของหวานค่ะ พี่จินจู : พอพี่เขาโตขึ้นมาจะเป็นถั่วงอกค่ะ ครูให้นักเรียนเพาะถัวงอกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก กลุ่มที่ 1 เพาะถั่วงอกจากฟางข้าว กลุ่มที่ 2 เพาะถั่วงอกจากแกลบเผา กลุ่มที่ 3 เพาะถั่วงอกจากสำลี กลุ่มที่ 4 เพาะถั่วงอกจากแกลบ กลุ่มที่ 5 เพาะถั่วงอกจากทราย หลังจากที่ พี่ๆ ทำการเพาะถั่วงอกเสร็จแล้ว พี่ๆ ทุกกลุ่มเฝ้าดูแลรดน้ำในทุกเช้า เย็น และสังเกตการเจริญ พี่กร : ทำไมเพาะถั่วงอกในฟางพี่เขาเป็นดำๆ เหมือนพี่เขาเน่าเลยครับ พี่กาย : ทำไมที่อยู่ในสำลีเกิดเยอะจังเลยครับ พี่อ๋อมแอ๋ม :หนูว่าที่เพาะในสำลีเกิดเยอะเป็นเพราะว่าสำลีดูดน้ำไว้ค่ะ พี่แสตมป์ : ทำไมที่เพาะในในแกลบกับทรายไม่ค่อยเกิดครับ ในสัปดาห์นี้พี่ๆสนุกสนาและตื่นเต้นในการได้เพาะถั่วงอกกับการทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ